วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ , โทรทัศน์ครู , วิจัย


สรุปบทความ
เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงคน




               การสอนลูกเรื่องแรงของคน (Teaching Children about Human Force) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยว กับสิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หยุด และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างวัตถุบางอย่างได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อของคนเรา เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เรียกว่า แรง ซึ่งเป็นได้ทั้ง
  • แรงดึง ที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้าหาตัวเรา
  • และแรงผลัก ที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา
  • ส่วนแรงกดหรือบีบ หมายถึง การออกแรงผลักลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การกดอาจจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ บุบ หรือแบนได้
  • และการหมุน หมายถึง การใช้แรงผลักและแรงดึงไปพร้อมกัน
               ทั้งนี้ คนเราทุกคนเกิดมาจะมีพลังงานเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ พลังงานนี้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่จะเห็นผลจากการกระทำของการออกแรง เพราะคนเรามีแรงกันทุกคน จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ในการนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ผ่านการเล่นทั้งที่มีของเล่นประกอบและไม่มี ทั้งนี้นอกเหนือจากการสนับสนุนให้เด็กสนใจธรรมชาติของตนเองแล้ว เรื่องแรงเป็นเรื่องที่คนเราจะต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิตให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว การระมัดระวังตน เองให้ปลอดภัยจากแรงเป็นสำคัญ ที่ต้องให้เด็กได้รับข้อความรู้นี้เช่นกัน ทั้งพ่อแม่และครูจึงควรจัดกิจกรรมเรื่องแรงของคนให้เด็กได้มีประสบการณ์


สรุปโทรทัศน์ครู
จากรายการ ครูมืออาชีพ เรื่อง ภูเขาขยะ




โรงเรียนวัดไทรใหญ่  จ.นนทบุรี

         ได้จัดโครงการภูเขาไทรน้อยขึ้น เพื่อเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระ โดยผู้อำนวยการของโรงเรียน ได้เร่งเห็นถึงความสำคัญที่จะปลูกฝังเด็กๆภายในโรงเรียนให้รู้จักรักสภาพแวดล้อมรอบๆโรงเรียน และภายในท้องถิ่นของตนเอง โดยเริ่มจากครูนำเด็กๆสำรวจรอบๆโรงเรียนว่า มีขยะประเภทไหนบ้าง และหลังจากนั้นครูให้เด็กรู้จักแยกประเภทของขยะโดยการเก็บขยะภายในโรงเรียนของทุกๆเช้า ก่อนเข้าเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักแยกขยะ และรู้จักทิ้งขยะให้เป็นที่
          หลังจากนั้นครูได้เริ่มการเรียนการสอนโดยเริ่มจากการพาเด็กๆไปสังเกตที่คลองข้างวัด แล้วครูจึงใช้คำถาม ถามเด็กว่า "เด็กๆเห็นอะไรในคลองบ้างค่ะ" และเด็กๆตอบว่า "ผักตบชวา"  หลังจากนั้นครูได้เก็บผักตบชวามาตากแห้งแล้วนำมาจัดกิจกรรมในห้องเรียน คือให้เด็กๆนำผักตบชวามาทำเป็นของใช้ที่เด็กๆสามารถทำได้เอง คือ เด็กๆนำผักตบชวามาถักเป็นเปีย แล้วนำไปติดรอบๆขวดแก้ว หรือขวดโหล



สรุปวิจัย
เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวน สอบสวนเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม





การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
  • เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน 
  • ศึกษาอัตราพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน และ 
  • ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
วิธีการดำเนินงาน

          การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อน – หลังการทดลองโดยศึกษาจากประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดคูหาสวรรค์ จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา เรื่อง กระบวนการดารงชีวิตของพืช จานวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา เรื่อง กระบวนการดารงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 6 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 18 ชั่วโมงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีขั้นตอน การสอนแบบ 5Es ในแต่ละขั้นจะแทรกกิจกรรมพี่พัฒนาพหุปัญญา เช่น ขั้นสร้างความสนใจ เป็นการใช้คาถามกระตุ้นการคิด จะส่งเสริมพหุปัญญาด้านภาษาและการสื่อสารหรือตรรกะและคณิตศาสตร์ หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม ขั้นสารวจและค้นหา เป็นขั้นที่นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง ด้านนี้จะทาให้นักเรียนเกิดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ จะยายประเด็นให้เห็นภาพชัดเจน และอธิบายข้อมูลด้วยเหตุผล พหุปัญญาที่ส่งเสริมจะเป็นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านภาษาการสื่อสาร ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านมนุษย์สัมพันธ์และเข้าใจผู้อื่น ด้านมิติและจินตภาพ รวมถึงด้านธรรมชาติ ขึ้นกับความเหมาะสมของกิจกรรม ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ในขั้นนี้จะได้ในเรื่องของการอภิปรายผลและการเชื่อมโยงข้อมูล จะเกิดทักษะการคิดสังเคราะห์ พหุปัญญาที่เสริมจะเป็นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ภาษาและการสื่อสาร และพหุปัญญาด้านอื่น ๆ ขั้นขยายความรู้ ในบางกิจกรรมอาจจะได้โครงงานวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขั้นประเมินจะเป็นการประเมินผลงานตามสภาพจริงด้วยเกณฑ์การประเมินตามชิ้นงานนั้น ๆ แบบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน

ผลการวิจัย


          1. การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนได้รับการเรียนรู้และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.80 คะแนน และ 14.00 คะแนน ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา ทา ให้นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น
          2. การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนก่อนได้รับการเรียนรู้และหลังได้รับการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.73 คะแนน และ 7.23 คะแนน ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่าง คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Esที่เน้นพหุปัญญา ทา ให้นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน   โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2  ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอ งานวิจัย และโทรทัศน์ครู สำหรับคนที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอให้ออกมานำเสนอภายในวันนี้ทั้งหมด
         หลังจากออกมานำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ได้ให้ทำแผ่นพับที่มีหัวข้อว่า " สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน " ซึ่งเป็นกิจกรรม

กลุ่มใช้กลุ่มเดิมคือกลุ่มที่เขียนแผนร่วมกันโดยมีหัวข้อดังนี้
  • ชื่อและสัญลักษณ์ของโรงเรียนชื่อเด็กและครูประจำชั้น
  • สิ่งที่ต้องการขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้ปกครองและวัตถุประสงค์
  • สาระน่ารู้เกี่ยวกับหน่วยที่เขียน
  • แบบฝึกหัดที่ทำได้ในแผ่นพับ
  • เพลง คำคล้องจอง
  • ชื่อผู้จัดทำ

การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำงานวิจัย หรือโทรทัศน์มาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ โดยการศึกษาและทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง และชัดเจน แล้วจึงนำมาประยุกต์ในการสอนเด็กได้
- สามารถนำวิธีการทำ" สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน " มาใช้ทำเวลาที่เราต้องออกไปฝึกสอนได้

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียน และตั้งสืบค้นข้อมูล แล้วทำความเข้าใจกับโทรทัศน์ที่ได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ได้ดี
ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และตั้งใจนำเสนอของงานวิจัย และโทรทัศน์ครู พร้อมกับจดบันทึกไว้เพื่อเป็นแนวในการเรียน หรือการสอนได้

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ได้ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาใช้ความคิด วิเคราะห์ในการฟังงานวิจัย และโทรทัศน์ครูของเพื่อน 
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงแผนการสอน และให้โอกาสนักศึกษาโดยให้ออกมาถามอาจารย์ว่าไม่เข้าใจตรงไหน แล้วอาจารย์จะเสนอแนะ เพิ่มเติมให้ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์
     หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอของเล่น และจัดหมวดหมู่ของเล่นของตนเอง

หมวดเสียง


หมาวดน้ำ


หมวดจุดสมดุล



หมวดอากาศ


หมวดพลังงาน



หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ"หวานเย็น''
อุปกรณ์(Equipment)
1.น้ำหวาน                                                     7.ถุงแกง
2.น้ำเปล่า                                                      8.ยางวง
3.เกลือ                                                           9.หม้อ
4.น้ำแข็ง                                                     10.ช้อน
5.กระบวย                                                    11.กะละมัง
6.กรวย

วิธีการทำ
(How to)
1.นำน้าหวานมาผสมกับน้ำให้พอสมควรลงในกะละมัง
2.ตักน้ำหวานที่ผสมแล้วใส่ถุงและมัดยางให้แน่น
3.นำถุงหวานเย็นไปใส่ในหม้อและเอาน้ำแข็งกับเกลือใส่ลงไปในหม้อเดียวกัน
4.หมุนหม้อไปมาประมาน 10 นาที่ ก็นำหวานเย็นออกมา
5.ลองชิมดู

สาเหตุเกิดจาก

             ทำให้หวานเย็นแข็งเพราะเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งกับเกลือทำปฏิกิริยากันจึงทำให้น้ำแข็งเกาะตัว เมื่อเราเอาน้ำแข็งใส่ลงไปในเกลือ เกลือที่ต้องการละลายตัว ไม่สามารถจะหาความร้อนที่ไหนมาช่วยละลายได้ จึงดึงความร้อนจากน้ำแข็ง ซึ่งปนอยู่ลงไปนั่นเอง น้ำแข็งซึ่งเย็นอยู่แล้วจึงยิ่งเย็นลงไปอีก และเย็นลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลเช่นนี้หวานเย็นจึงกลายเป็นน้ำแข็ง

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิธีการสอนทำ Cooking มาสอนกับเด็กๆได้จริง เพราะเป็นวิธีการทำที่ง่ายๆ และปลอดภัยสำหรับเด็ก
- สามารถนำของเล่นที่เพื่อนออกมานำเสนอมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำไปใช้สอนได้จริง


ประเมินตนเอง

- วันนี้ขาดเรียน

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และตั้งใจนำเสนอของเล่นของตนเอง

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดเยอะๆ
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการออกมานำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครู ว่าควรออกมานำเสนอในหัวข้ออะไรบ้าง

งานวิจัย
  • ชื่อวิจัย
  • นิยาม
  • วิธีการดำเนินงาน
  • ผลที่ได้จากการทดลอง
งานโทรทัศน์ครู
  • ชื่อเรื่อง
  • ส่งเสริมเรื่องอะไร
  • มีขั้นตอนอย่างไร
  • มีวิธีแก้ไขอย่างไร
         หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม เป็น3กลุ่ม เพื่อจะทำขนมวาฟเฟิล จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำให้นักศึกษาฟังก่อนลงมือปฏิบัติเอง

ส่วนประกอบ(Composition)

1.แป้งสำเร็จรูป Flour
2.ไข่ไก่ Egg
3.นม Milk
4.เนยหวาน/เค็ม Butter

อุปกรณ์(Equipment)

1. ถ้วยใหญ่สำหรับผสมแป้ง
2. ถ้วยเล็ก
3. ที่ตีแป้ง
4. แปรงเช็ดเตา
5. เครื่องทำวาฟเฟิล
6. แก้ว Glass
7. ช้อน Spoon
8. กระบวย
9. จาน Plate

วิธีการทำ(How to)

1. ใส่นมและน้ำลงในถ้วยแป้งในปริมาณที่เหมาะสมและตีแป้งให้เข้ากัน
2. พอแป้งเข้าที่แล้ว ตอกไข่ใส่ลงไป และตามด้วยเนยหวาน ตีให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วยเล็กของแต่ล่ะคน
4. ใช้แปรงแตะเนยเค็มและไปเช็ดกับเตาทำวาฟเฟิล
5. พอเตาร้อนได้ที่ก็เทวาฟเฟิลที่ผสมไว้ลงในบล็อกขนมและปิดเตารอจนกว่าไฟจะเปลี่ยนสี
6. พอไฟเปลี่ยนสีแล้วก็นำออกใส่จานให้เรียบร้อย และก็ให้ทุกคนได้ชิม









         หลังจากทำCooking เสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดสรุป แล้วให้เพื่อนออกมานำเสนอโทรทัสน์ครู
เรื่อง : ของเล่นของใช้   โดย น.ส.นิตยา

        หลังจากจบการนำเสนอโทรทัศน์ครูแล้วได้ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนดินที่นำไปแก้ไขมาใหม่

หน่วยดิน

ขั้นนำ : ร้องเพลงดิน
ขั้นสอน : - ครูใช้คำถาม ถามเด็กว่า
  • เด็กๆว่าที่ครูถืออยู่ในมือ คืออะไรค่ะ
  • เด็กๆว่ามันคือดินอะไรค่ะ
                - ให้เด็กๆนับดูว่ามีดินกี่ถ้วย
                - ให้เด็กๆจับคู่ ระหว่งดินเหนี่ยว และที่ไม่ใช่ดินเหนี่ยว
ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันสรุปชนิดของดิน และร้องเพลงดิน

หน่วยสับปะรด

ขั้นนำ : เพื่อนไม่ค่อยเข้าใจในขั้นนำ
ขั้นสอน :  บอกถึงโทษและประโยชน์ของสับประรด

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิธีการสอนทำ Cooking มาสอนกับเด็กๆได้จริง เพราะเป็นวิธีการทำที่ง่ายๆ และปลอดภัยสำหรับเด็ก
- สามารถนำสิ่งที่เพื่อนออกมานำเสนอมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำไปใช้สอนได้จริง

ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจเรียน และตั้งฟัง พร้อมกัยจดบันทึกไว้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนครั้งต่อไปได้ และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน และในความร่วมมือกับเพื่อนๆเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และนำเสนอแผนออกได้ดี

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดเยอะๆ
- อาจารย์ใช้วิธีเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงสิ่งที่ตนเองคิดและออกมานำเสนอ และอาจารย์ค่อยชี้แนะว่าถูกต้องหรือไม่ หรือควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 11  พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103





กิจกรรมวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่มที่เหลือที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอแผนการสอนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ออกมานำเสนอต่อ

หน่วยสับปะรด(Pineapple)


ขั้นนำ : เด็กๆว่าสับปะรดสามารถนำมาทำเป็นอะไรได้บ้าง
ขั้นสอน : ครูหั่นสับปะรดลงในน้ำเชื่อมที่มีน้ำแข็ง
ขั้นสรุป : ครูประกอบอาหาร

หน่วยส้ม(Orange)



ขั้นนำ : ร้องเพลงส้ม
ขั้นสอน : นับตามลำดับ และแยกพันธุ์ส้ม ระหว่างพันธุ์แมนดาริน และที่ไม่ใช่แมนดาริน
ขั้นสรุป : ต่อจิ๊กซอร์

หน่วยทุเรียน(Durian)




หน่วยมด(Ant)




หน่วยดิน(Soil)




หน่วยน้ำ(Water) กลุ่มของดิฉัน





การทดลองสถานะของน้ำ

1.ที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
2.น้ำเปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว 3.ของแข็งละเหยเป็นไอน้ำ

หน่วยไข่(Egg) จัดทำCooking 





การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำสิ่งที่เพื่อนออกมานำเสนอมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำไปใช้สอนได้จริง

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจออำมานำเสนอแผนการสอน และให้ความร่วมมือกับกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และนำเสนอแผนออกได้ดี

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดเยอะๆ
- อาจารย์ใช้วิธีเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงสิ่งที่ตนเองคิดและออกมานำเสนอ และอาจารย์ค่อยชี้แนะว่าถูกต้องหรือไม่ หรือควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4  พฤศจิกายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มที่อาจรย์ได้หมอบหมายให้ออกมานำเสนอตามวันที่อาจารย์ได้จัดไว้ให้

หน่วยข้าว(Rice)



ขั้นนำ : ให้เด็กๆออกมาช่วยกันต่อภาพตัดต่อ เป็นรูปซูชิ
ขั้นสอน : ทำซูชิจากข้าวเหนี่ยว หน้าหมูทอด หมูปิ้ง หมูอบ
ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันสรุป ว่าชอบซูชิหน้าไหน โดยสรุปเป็นกราฟ

หน่วยไข่(Egg)



ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองพร้อมกัน
ขั้นสอน : ครูและเด็กร่วมกันทำไข่เจียว
ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันสรุป ว่าไข่สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง

หน่วยกล้วย(Banana)





หน่วยกบ(Frog)





การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำสิ่งที่เพื่อนออกมานำเสนอมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำไปใช้สอนได้จริง

ประเมินตนเอง

- เนื่องจากวันนี้ขาดเรียน จึงไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนร่วมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และนำเสนอแผนออกได้ดี

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดเยอะๆ
- อาจารย์ใช้วิธีเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงสิ่งที่ตนเองคิดและออกมานำเสนอ และอาจารย์ค่อยชี้แนะว่าถูกต้องหรือไม่ หรือควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง



วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28  ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103




กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาหลายอย่างเพื่อมาทดลองให้นักศึกษาดู

กิจกรรมที่ 1 



อุปกรณ์(Equipment)

1.เทียน
2.แก้ว
3.ถ้วย
4.ไม้ขีดไฟ

วิธีทำ(How to)

- นำไม้ขีดไฟมาจุดเทียน
- นำเทียนที่จุดไว้มาตั้งไว้บนถ้วย
- แล้วลองนำแก้วมาครอบเทียนไว้

ผลการทดลอง

- หลังจากนำแก้มมาครอบเทียนไว้ เทียนเกิดดับ สาเหตุที่ทำให้เที่ยนดับ คือ แก้วที่เราครอบลงไปนั้้นเข้าไปปิดกั้นอากาศไว้ จึงทำให้ไม่มีอากาศผ่านได้ จึงทำให้เทียนดับ

กิจกรรมที่ 2




อุปกรณ์(Equipment)

1.กระดาษ A4

วิธีทำ(How to)

1.นำกระดาษ A4 มาพับเป็น 4 ส่วน 
2.ตัดกระดาษ ให้เหลือเพียง 1  ส่วน แล้วนำมาพับครึ้ง
3.ฉีกกระดาษจากมุมซ้ายมือไปทางขวามือ
4.หลังจากฉีกเสร็จ พับเป็นสี่เหลี่ยม
5.นำกระดาษที่พับไปลอยน้ำ

ผลการทดลอง

- หลังจากที่นำกระดาษมาลอยน้ำ เราจะสังเกตเห็นได้ว่า กระดาษจะค่อยๆกางออกทีละข้าง สาเหตุเกิดจาก  การดูดซึมของกระดาษจึงทำให้น้ำเข้ามาแทนที่ แล้วทำให้กระดาษค่อยๆเปียกจึงทำให้กระดาษที่พับเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ค่อยๆกางออก

กิจกรรมที่ 3

อุปกรณ์(Equipment)

1.โหลใส่น้ำ
2.น้ำ
3.ดินน้ำมัน
4.ลูกแก้ว

วิธีทำ(How to)

1.ลองปั้นดินน้ำเป็นก้อนกลมๆ แล้วลองใส่ลงไปในโหลใส่น้ำ แล้วลองสังเกต
2.ลองนำดินน้ำมันมาแบออก แล้วลองนำไปลอยน้ำ แล้วลองสังเกต
3.ลองนำลูกแก้วมาใส่ในดินน้ำมันที่แบไว้ ทีละลูก แล้วลองสังเกต

ผลการทดลอง

- หลังจากที่ใส่ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนลงไปในน้ำ ดินน้ำมันเกิดจม สาเหตุเกิดจากดินน้ำมันไม่มีอากาศอยู่ข้างใน จึงทำให้ดินน้ำมันไม่สามารถลอยตัวได้
- หลังจากที่นำดินน้ำมันมาแบออก แล้วลอยน้ำ ดินน้ำมันเกิดไม่จม สาเหตุเกิดจากน้ำไม่สามารถเข้ามาแทนที่ดินน้ำมันได้จึงทำให้ดินน้ำลอยได้

กิจกรรมที่ 4





อุปกรณ์(Equipment)

1.แก้ว
2.น้ำ
4.ปากกา

วิธีทำ(How to)

1.นำน้ำใส่แก้ว
2.นำปากกาใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วลองสังเกต

ผลการทดลอง

- หลังจากการสังเกต จะเห็นได้ว่าปากกาที่อยู่ในน้ำ จะเป็นปากกาขยายใหญ่ขึ้น ส่วนปากกาที่อยู่เหนือน้ำจะอยู่ในขนาดที่ปกติ สาเหตุเกิดการขึ้น เพราะแสงเกิดการหักเห แล้วสะท้อนผ่าน
เข้ามาที่ตาเราจึงทำให้เราเห็นปากกาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำสิ่งที่เราประดิษฐ์วันนี้ไปสอนเด็กๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือสอนศิลปะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจิตนาการของเด็ก และยังสามารถนำแผนการสอนของกลุ่มอื่นๆมาปรับใช้กับแผนการสอนของตนเองได้อีกด้วย


ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนที่อาจารย์นำมาทดลองให้ดูภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี 

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดเยอะๆ
- อาจารย์ใช้การทดลองเข้ามาเป็นสื่อการสอน แล้วให้นักศึกษารู้จักการสังเกต และวิเคราะห์