วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

บทความที่เพื่อนนำมาเสนอวันนี้

บทความที่ 1 เรื่องจุดประการคิดนอกกรอบ
บทความที่ 2 เรื่องทำอย่างไรให้ลูกสนใจทางวิทยาศาสตร์
บทความที่ 3 เรื่องวิทย์ - คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
บทความที่ 4 เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์ - คณิต ผ่านเสียงดนตรี
บทความที่ 5 เรื่องการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้

         ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็ก

วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้น และจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดทองเพื่อค้นหาความจริง และทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

         แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

- การเปลี่ยนแปลง (Change) เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ตามเวลา การกระทบ สภาพอากาศ
- ความแตกต่าง (Difference) สิ่งต่างๆในโลกมีทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน
- การปรับตัว (Adapendencec) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- การพึ่งพาอาศัยกัน (Dependence) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ความสมดุล (Equilibrium) จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน อยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข

          การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

- ขั้นกำหนดปัญหา
- ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นรวบรวมข้อมูล/การทดลอง
- ขั้นลงข้อสรุป

         เจตคติทางวิทยาศาสตร์

- ความอยากรู้อยากเห็น เป็นคุณลักษณะของเด็ก
- ความเพียรพยายาม เป็นความคิดสร้างสรรค์
- ความมีเหตุผล เป็นความเหมาะสม
- ความซื่อสัตย์ เป็นความจริง และตรงไปตรงมา
- ความมีระเบียบ และรอบคอบ เป็นความละเอียด
- ความใจกว้าง เป็นการยอมรับการเปลี่ยนแปลง

          ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการของวิทยาศาสตร์
-เสริมสร้างประสบการณ์ ฯลฯ

          ประโยขน์ของวิทยาศาสตร์

- พัฒนาความคิดรอบคอบพื้นฐาน
- พัฒนาการทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองได้ตามความเหมาะสม และสามารถนำไปศึกษาต่อเพื่อทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้อยากถูกต้อง

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียน ฟังและจดบันทึกตาม PowerPoint ที่อาจารย์ผู้สอน นำมาใช้เป็นสื่อการสอน 

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน และจดบันทึกตามที่อาจารย์สอน ไม่ค่อยเล่น หรือพูดคุยกันในเวลาเรียน

ประเมินผู้สอน

- อาจารย์มีเทคนิคการสอน คือ มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และเมื่อมีการนำเสนอบทความของเพื่อน นักศึกษาจะต้องรู้จักตั้งคำถาม เพื่อรู้จักคิด วิเคราะห์

ความรู้เพิ่มเติม

ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

          เพื่อนได้ออกมานำเสนอบทความของตนเอง อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อให้ และกำหนดจำนวนคนที่ต้องออกมานำเสนอในแต่ละอาทิตย์

บทความที่ 1
เรื่อง : วิทยาศาสตร์และการทดลอง

เนื้อหาโดยย่อ
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์
          เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ และสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
          ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการลงคงามเห็นจากข้อมูล
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
7.ทักษะการคำนวณ

บทความที่ 2
เรื่อง : ภาระกิจตามหาใบไม้

เนื้อหาโดยย่อ
          กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่างง่ายๆ
              “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา              “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”

บทความที่ 3
เรื่อง : เรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ

เนื้อหาโดยย่อ
          อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” 
ซึ่งสอนเด็กๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อก เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง  ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ ได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น “เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู” ถึง 12 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครูกลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมีขาดแคลนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี           “เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบางท่านไม่ได้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้นสำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางก่อนทำกิจกรรม เราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้คำเดียวกัน” ครูพัชรากล่าว แม่ครูทัศวรรณ ปู่ลมดี ผู้ปกครองจิตอาสาในเครือข่ายพ่อครู-แม่ครูท่านหนึ่ง ยืนยันว่า การที่พ่อแม่ร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่า ลูกเรามีความบกพร่องหรือด้อยในด้านใด ที่สำคัญคือ พ่อแม่ได้ตระหนักว่า จะปล่อยให้การเรียนรู้ของเด็กๆ เป็นภาระของครูทั้งหมดไม่ได้ เพราะเวลาของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่บ้าน จึงเป็นเรื่องดีที่โรงเรียน พ่อแม่ และชุมชน ซึ่งเราสัมผัสได้เลยว่า เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นมาก ครอบครัวก็อบอุ่นเพราะได้ใช้เวลาร่วมจะมาช่วยกันหาวิธีการศึกษา หรือช่วยกันตอกย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้มา กันมากขึ้น “ตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบนี้ เมื่อเขาขึ้น

บทความที่ 4
เรื่อง : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาโดยย่อ
          ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท
การแยกประเภทเมล็ดพืชแนวคิดเมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ดวัตถุประสงค์หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ   


1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ             
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี
 และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด 
วัสดุอุกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย
 ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ  
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช            
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม             
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็ก
ทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืช
ตามลำพัง            
 2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำ
กิจกรรมอยู่ครู
เดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุ
ใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น             
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขา
ได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น             
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ
 เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืช
เหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กอง
เดียวกัน”“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”



บทความที่ 5
เรื่อง : เจ้าลูกโป่ง


ความรู้ที่ได้

          อาจารย์ได้อธิบาย คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา

ปฐมวัย พ.ศ. 2546



เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนและแตกต่าง
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคต่อเนื่อง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่าง ของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่างจำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และ อายุ ของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปศึกษาต่อเพื่อทำความเข้าใจกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ได้อยากถูกต้อง และนำมาปรับใช้ในการเรียน การสอนได้อย่างเหมาะสม

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียน ฟังและจดบันทึกตาม PowerPoint ที่อาจารย์ผู้สอน นำมาใช้เป็นสื่อการสอน 

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน

ประเมินผู้สอน

- อาจารย์มีเทคนิคการสอน คือ การใช้เทคนิคในการใช้โปรแกรม Mind Map แบบง่าย เพื่อ
เป็นการให้นักศึกษา ไปต่อยอดในการเรียนในราบวิชานี้ และรายวิชาอื่นๆได้

ความรู้เพิ่มเติม

- ตกแต่งบล็อกเพิ่มเติมให้สวยงาม



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103




ความรู้ที่ได้

          วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือในการเรียนรู้ คือ
- คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนวิทยาศาสตร์
- ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียน และการสื่อสาร

          วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวของเด็ก
          ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็ํน ช่างสังเกต และคอยสักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบได้
          การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกต และคอยสักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
         
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก

- ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
- ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริม และต่อยอดทักษะ และแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองได้ตามความเหมาะสม และสามารถนำไปศึกษาต่อเพื่อทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้อยากถูกต้อง

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียน ฟังและจดบันทึกตาม PowerPoint ที่อาจารย์ผู้สอน นำมาใช้เป็นสื่อการสอน 

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน และจดบันทึกตามที่อาจารย์สอน ไม่ค่อยเล่น หรือพูดคุยกันในเวลาเรียน

ประเมินผู้สอน

- อาจารย์มีเทคนิคการสอน คือ เน้นให้คิดวิเคราะห์  และฝึกสมาธิโดยการฟัง ฝึกให้รู้จักแก้ปัญหา และจินตนาการตามไปด้วย พร้อมกับยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

ความรู้เพิ่มเติม

- ตกแต่งบล็อกเพิ่มเติม