บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103
ความรู้ที่ได้
กิจกรรมแรกของวันนี้ คืออาจารย์ใช้คำปลายเปิดว่า " Constructivism คืออะไร"
คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับ และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะ ต้อง พิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ สำหรับนำเอาสิ่งแวดล้อมของการเรียนที่มีประโยชน์มา ช่วยให้เกิดการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน การนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมาใช้ จะต้องคำนึงถึง เครื่องมืออุปกรณ์การสอนด้วย เพราะทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่2 อาจารย์ได้ให้กระดาษรูปนกกับผีเสื้อ และให้จับคู่กับเพื่อนและแบ่งกันกับเพื่อน และหลังจากนั้นให้ตัดตามรูปที่ตนเองได้เลือกไว้ และนำเศษกระดาษที่เหลือมาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เกิดความสัมพันธ์กันและตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นให้นำไม้เสียบลูกชิ้นมาทากาวแล้วติดไว้ตรงกลาง แล้วลองหมุนไวๆ จะเห็น 2 ภาพนี้รวมกัน จากกิจกรรมนี้จะทำให้เกิดข้อสงสัยหลายอย่าง เช่น ทำไมเราถึงมองเห็นภาพรวมกันเป็นภาพเดียว? ทำไมสิ่งที่เราวาดมันไม่ตรงกันกับอีกด้านนึง? และกิจกรรมนี้ยังช่วยพัฒนาให้เด็กเน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักลองผิดลองถูกกับสิ่งที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติ
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับกิจกรรมนี้ คือ
อุปกรณ์ ( Equipment )
- กระดาษ (Paper)
- กรรไกร (Scissore)
- กาว (Glue)
- เทปกาว (Glue tape)
- ไม้เสียบลูกชิ้น
- สี (Color)
บทความวันนี้ (Articles Today)
บทความที่ 1 เรื่อง : สอนลูกเรื่องพืช (Plants)
พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้
มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับพืชตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงตลอดชีวิต เนื่องจากต้องพึ่งพาและใช้ประโยชน์จากพืชในการดำรง ชีวิต มนุษย์ต้องกินข้าว กินผัก และผลไม้เป็นอาหาร มนุษย์สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยจากต้นไม้ ใช้ไม้ทำเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ พืชบางชนิดมีคุณสมบัติในทางยาที่มนุษย์นำมาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ต้นไม้ให้ร่มเงาและให้ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่บริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
บทความที่ 2 เรื่อง : เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน (Tales)
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
บทความที่ 3 เรื่อง : แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่
บทความที่ 4 เรื่อง : การทดลองสนุกๆสำหรับคุณหนูๆ (Science Experiments)
วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล
เราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ได้ให้นำงานกลุ่ม (Mind Map) มีแปะไว้ที่หน้าชั้นเรียนทุกกลุ่ม โดยอาจารย์จะชีแนะ พร้อมอธิบายว่าสิ่งที่นักศึกษาทำมานั้นถูกต้องหรือเปล่า โดยกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง "น้ำ"
ผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่น
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำมาปรับใช้ในการสอนได้ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องรู้
ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจเรียน ฟังและจดบันทึกลงในสมุด และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนด้วย
ประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน และร่วมกันทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ใช้เทคนิคการสอน คือ การใช้คำถามปลายเปิด และการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกับกิจกรรมต่างๆภายในห้องเรียน เพื่อให้เกิดความคิดจินตนาการที่สร้างสรรค์ และให้นักศึกษาเข้าใจในกิจกรรมที่อาจารย์ต้องการสื่อถึง มากขี้น
ความรู้เพิ่มเติม
- “เฟรอเบล” บิดาการศึกษาปฐมวัย
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate)
จอห์น ล็อค (John Lock) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1632 ถึง 1741 จอห์น ล็อค ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากทฤษฎีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาจิตใจ และการเรียนรู้ ล็อค มีความเชื่อว่า เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate) เด็กจะเติบโตเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ สังคม การศึกษา และโลกรอบตัว จอห์น ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปในยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กล็อคเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการพยายามทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล กล่าวโดยสรุป บทบาทที่สำคัญของจอห์น ล็อคด้านการศึกษาคือ การจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก การอธิบายเหตุผลแก่เด็กในการเรยนรู้ และบทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาเด็ก
ความรู้ที่ได้
กิจกรรมแรกของวันนี้ คืออาจารย์ใช้คำปลายเปิดว่า " Constructivism คืออะไร"
คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับ และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะ ต้อง พิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ สำหรับนำเอาสิ่งแวดล้อมของการเรียนที่มีประโยชน์มา ช่วยให้เกิดการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน การนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมาใช้ จะต้องคำนึงถึง เครื่องมืออุปกรณ์การสอนด้วย เพราะทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่2 อาจารย์ได้ให้กระดาษรูปนกกับผีเสื้อ และให้จับคู่กับเพื่อนและแบ่งกันกับเพื่อน และหลังจากนั้นให้ตัดตามรูปที่ตนเองได้เลือกไว้ และนำเศษกระดาษที่เหลือมาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เกิดความสัมพันธ์กันและตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นให้นำไม้เสียบลูกชิ้นมาทากาวแล้วติดไว้ตรงกลาง แล้วลองหมุนไวๆ จะเห็น 2 ภาพนี้รวมกัน จากกิจกรรมนี้จะทำให้เกิดข้อสงสัยหลายอย่าง เช่น ทำไมเราถึงมองเห็นภาพรวมกันเป็นภาพเดียว? ทำไมสิ่งที่เราวาดมันไม่ตรงกันกับอีกด้านนึง? และกิจกรรมนี้ยังช่วยพัฒนาให้เด็กเน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักลองผิดลองถูกกับสิ่งที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติ
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับกิจกรรมนี้ คือ
อุปกรณ์ ( Equipment )
- กระดาษ (Paper)
- กรรไกร (Scissore)
- กาว (Glue)
- เทปกาว (Glue tape)
- ไม้เสียบลูกชิ้น
- สี (Color)
บทความวันนี้ (Articles Today)
บทความที่ 1 เรื่อง : สอนลูกเรื่องพืช (Plants)
พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้
มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับพืชตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงตลอดชีวิต เนื่องจากต้องพึ่งพาและใช้ประโยชน์จากพืชในการดำรง ชีวิต มนุษย์ต้องกินข้าว กินผัก และผลไม้เป็นอาหาร มนุษย์สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยจากต้นไม้ ใช้ไม้ทำเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ พืชบางชนิดมีคุณสมบัติในทางยาที่มนุษย์นำมาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ต้นไม้ให้ร่มเงาและให้ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่บริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
บทความที่ 2 เรื่อง : เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน (Tales)
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
บทความที่ 3 เรื่อง : แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่
บทความที่ 4 เรื่อง : การทดลองสนุกๆสำหรับคุณหนูๆ (Science Experiments)
วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญาการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล
เราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ได้ให้นำงานกลุ่ม (Mind Map) มีแปะไว้ที่หน้าชั้นเรียนทุกกลุ่ม โดยอาจารย์จะชีแนะ พร้อมอธิบายว่าสิ่งที่นักศึกษาทำมานั้นถูกต้องหรือเปล่า โดยกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง "น้ำ"
ผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่น
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำมาปรับใช้ในการสอนได้ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องรู้
ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจเรียน ฟังและจดบันทึกลงในสมุด และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนด้วย
ประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน และร่วมกันทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินผู้สอน
- วันนี้อาจารย์ใช้เทคนิคการสอน คือ การใช้คำถามปลายเปิด และการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกับกิจกรรมต่างๆภายในห้องเรียน เพื่อให้เกิดความคิดจินตนาการที่สร้างสรรค์ และให้นักศึกษาเข้าใจในกิจกรรมที่อาจารย์ต้องการสื่อถึง มากขี้น
ความรู้เพิ่มเติม
- “เฟรอเบล” บิดาการศึกษาปฐมวัย
เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate)