วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7


บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 กลุ่ม 103



กิจกรรมวันนี้

กิจกรรมที่ 1 


ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

           ลม หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันของความกดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกออากาศสูงจะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มวลอากาศที่เคลื่อนที่เราเรียกว่า "ลม" จึงกล่าวได้ว่า ลม เกิดจากการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำนั่นเอง โดยการเคลื่อนที่ของลมจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความกดอากาศสูง และความกดอากาศต่ำ ถ้ามีความแตกต่างกันน้อยลมที่เกิดขึ้นจะเป็นลมเอื่อย และถ้ามีความแตกต่างกันมากจะกลายเป็นพายุได้ ดังนั้นการเกิดลม เป็นปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นการหมุนเวียนของลมบนโลกเป็นกลไกในการช่วยกระจายพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ให้เฉลี่ยทั่วถึงโลก และช่วยพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินด้วย ข้อสังเกต เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอากาศมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ ถ้าเคลื่อนที่ขนานไปกับผิวโลกเราเรียกว่า "ลม" (Wind) แต่ถ้าเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเราเรียกว่า "กระแสอากาศ" (Air current) สำหรับระบบการพัดของลมบนพื้นโลกส่วนหนึ่งเกิดเนื่องมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศ เราเรียกแรงดังกล่าวว่า 
          "แรงคอริออลิส" เป็นแรงที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวนอน มีลักษณะที่สำคัญคือแรงนี้จะหมุนทำมุมตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ในซีกโลกเหนือ แรงเฉจะทำให้อากาศเคลื่อนที่ในแนวนอน เฉไปจากเดิมไปทางขวา และทางซีกโลกใต้ เฉไปจากเดิมทางซ้าย แรงนี้จะมีค่าสูงสุดที่ขั้วโลกทั้งสอง และมีค่าเป็นศูนย์ที่ศูนย์สูตร และค่าของ
แรงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อละติจูดสูงขึ้น จนกระทั่งมีค่าสูงสุดเท่ากับหนึ่งหรือ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ขั้วโลกทั้งสอง




อุปกรณ์( Equipment)

1.กระดาษ(Paper)
2.คลิปหนีบกระดาษ ( Paperclip)
3.กรรไกร (Scissors)

วิธีการทำ (How to)

1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วพับครึ่ง
2. ใช้กรรไกรตัดกึ่งกลางตามลอยพับครึ่งแผ่น
3. พับส่วนปลายด้านที่ไม่ได้ตัด 
4. นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ตรงที่พับขึ้นไป 
5. แล้วกลางกระดาษที่ตัดออกไปคนล่ะด้าน


วิธีการเล่น ( How to play )

โดยลองโยน ขว้าง หรือปา ก็ได้แต่ต้องลงมาจากที่สูง

           สาเหตุจากที่สูง จะสังเกตุเห็นว่ามันจะหมุนมาเรื่อยๆๆจนถึงพื้น เพราะมันเกิดแรงโน้มถ่วง และแรงต้านทาน ที่มีลักษณะคล้ายๆ  ร่มชูชีพ  แล้วจึงนำมาประดิษฐ์เป็นสื่อเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็ก ให้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัยที่เหมาะสม

กิจกรรมที่ 2







อุปกรณ์( Equipment)

1. แกนกระดาษทิชชู (Tissue cores)
2. กระดาษ(Paper) 
3. ไหมพรม ( Yarn ) 
4. กาว (Glue) 
5. กรรไกร(Scissors)

วิธีการทำ (How to) 

1. ตัดแกนกระดาษทิชชูแบ่งครึ่ง
2. เจาะรู 2 รู คู่ขนานกันที่แกนกระดาษทิชชู
3. ตัดกระดาษเป็นวงกลมให้ดูเหมาะสมกับแกนกระดาษทิชชู
4. วาดรูปภาพที่เราต้องการลงในกระดาษวงกลมให้สวยงาม
5. นำกระดาษที่ตบแต่งเรียบร้อยแล้วแป๊ะใส่แกนกระดาษทิชชูห้ามปิดรูที่เจาะไว้
6. นำไหมพรมมาร้อยใส่รูแล้วมัดให้เรียบร้อย จากนั้นก็ทดลองเล่น

วิธีการเล่น ( How to play )

          ให้นำเชือกฝั่งหนึ่งคล้องเข้ากับคอของตนเองแล้วลองดึงเชือกไปมาเพื่อให้แกนทิชชูนั้นสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้หรือเล่นได้ตามจินตนาการของตนเอง

บทความวันนี้ (Article today )

บทความที่ 1 เรื่อง : สะกิดลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์
          ธรรมชาติของเด็ก จะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นไม่หยุดนิ่ง เมื่อใดที่เผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะรู้ เขาจะพยายามค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งจะสังเกตุได้จากที่เด็กจะใช้คำถามแปลกๆที่ตัวเองอยากรู้มาถาม จนเราตอบไม่ทัน หรือตอบได้ทุกคำถาม การคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบในสิ่งที่เด็กสงสัยได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือได้

บทความที่ 2 เรื่อง : สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา”ตามเด็กปฐมวัย..เรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด
          คุณครูลาพรรณี มืดขุนทด ครูแกนนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัยของ สสวท. และคุณครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองผือจาเริญพัฒนา อาเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คุณครูปลูกฝังให้เด็กๆ รักการอ่านและแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ทิ้งขยะไม่ถูกที่ งอแง ขาดระเบียบวินัย กินขนมลูกอมใส่สี ฯลฯ ด้วยนิทาน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่คุณครูสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต. นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้าหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต. นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท. ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้าแต่งตัวเองได้ ทางานส่งครูได้ทันเวลา

บทความที่ 3 เรื่อง : เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
          ภพ เลาหไพบูลย์ (2542: 123) กล่าวว่าวิธีสอนหรือกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่นิยมใช้มีหลายวิธี แต่ไม่มีข้อมูลยืนยันว่ามีวิธีสอนหรือกิจกรรมใดที่ดีที่สุด เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ดังนั้นครูวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน เนื้อหาวิชา ตลอดจนอุปกรณ์การสอนที่มีอยู่ วิธีสอนวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเหมาะสมกับธรรมชาติ

บทความที่ 4 เรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
           หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 

         นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา

บทความที่ 5 : ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
          ขณะที่โครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กในชนบทจะมุ่งเน้นโครงงานที่สัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพยายามนำสิ่งของที่หาได้ง่ายในโรงเรียนและท้องถิ่น หรือสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น โครงงานทำกะปิจากถั่วเน่า โครงงานสมุนไพรชุมชน โครงงานสีย้อมผ้าและโครงงานกระดาษข้าวโพด เป็นต้น โครงงานวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ถ้ามองเผินๆ อาจดูเหมือนไม่สลักสำคัญอะไร แต่ถ้าพิจารณากันอย่างลึกซึ้งจริงจังแล้ว จะพบว่าโครงงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในวิธีคิด การถูกอบรมเลี้ยงดู บ่มเพาะและลักษณะการดำเนินชีวิต รวมตลอดถึงการให้คุณค่าของสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตระหว่างเด็กในเมือง และเด็กในชนบท

การนำมาประยุกต์ใช้

- สามารถนำสิ่งที่เราประดิษฐ์วันนี้ไปสอนเด็กๆเรื่องลม หรือแรงโนมถ่วงของโลกได้ หรือสอนศิลปะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจิตนาการของเด็ก

ประเมินตนเอง

- เนื่องจากวันนี้ไปสายมาก จึงทำให้ขาดเรียนวิชานี้

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียน และตั้งใจร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี และสนุก เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่ทำวันนี้

ประเมินผู้สอน

เทคนิคการสอนวันนี้

- อาจารย์ใช้งานประดิษฐ์ที่อาจารย์เตรียมมา ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ และอธิบายเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
- อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น