วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ , โทรทัศน์ครู , วิจัย


สรุปบทความ
เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงคน




               การสอนลูกเรื่องแรงของคน (Teaching Children about Human Force) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยว กับสิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หยุด และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างวัตถุบางอย่างได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อของคนเรา เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เรียกว่า แรง ซึ่งเป็นได้ทั้ง
  • แรงดึง ที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้าหาตัวเรา
  • และแรงผลัก ที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา
  • ส่วนแรงกดหรือบีบ หมายถึง การออกแรงผลักลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การกดอาจจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ บุบ หรือแบนได้
  • และการหมุน หมายถึง การใช้แรงผลักและแรงดึงไปพร้อมกัน
               ทั้งนี้ คนเราทุกคนเกิดมาจะมีพลังงานเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ พลังงานนี้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่จะเห็นผลจากการกระทำของการออกแรง เพราะคนเรามีแรงกันทุกคน จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ในการนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ผ่านการเล่นทั้งที่มีของเล่นประกอบและไม่มี ทั้งนี้นอกเหนือจากการสนับสนุนให้เด็กสนใจธรรมชาติของตนเองแล้ว เรื่องแรงเป็นเรื่องที่คนเราจะต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิตให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว การระมัดระวังตน เองให้ปลอดภัยจากแรงเป็นสำคัญ ที่ต้องให้เด็กได้รับข้อความรู้นี้เช่นกัน ทั้งพ่อแม่และครูจึงควรจัดกิจกรรมเรื่องแรงของคนให้เด็กได้มีประสบการณ์


สรุปโทรทัศน์ครู
จากรายการ ครูมืออาชีพ เรื่อง ภูเขาขยะ




โรงเรียนวัดไทรใหญ่  จ.นนทบุรี

         ได้จัดโครงการภูเขาไทรน้อยขึ้น เพื่อเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระ โดยผู้อำนวยการของโรงเรียน ได้เร่งเห็นถึงความสำคัญที่จะปลูกฝังเด็กๆภายในโรงเรียนให้รู้จักรักสภาพแวดล้อมรอบๆโรงเรียน และภายในท้องถิ่นของตนเอง โดยเริ่มจากครูนำเด็กๆสำรวจรอบๆโรงเรียนว่า มีขยะประเภทไหนบ้าง และหลังจากนั้นครูให้เด็กรู้จักแยกประเภทของขยะโดยการเก็บขยะภายในโรงเรียนของทุกๆเช้า ก่อนเข้าเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักแยกขยะ และรู้จักทิ้งขยะให้เป็นที่
          หลังจากนั้นครูได้เริ่มการเรียนการสอนโดยเริ่มจากการพาเด็กๆไปสังเกตที่คลองข้างวัด แล้วครูจึงใช้คำถาม ถามเด็กว่า "เด็กๆเห็นอะไรในคลองบ้างค่ะ" และเด็กๆตอบว่า "ผักตบชวา"  หลังจากนั้นครูได้เก็บผักตบชวามาตากแห้งแล้วนำมาจัดกิจกรรมในห้องเรียน คือให้เด็กๆนำผักตบชวามาทำเป็นของใช้ที่เด็กๆสามารถทำได้เอง คือ เด็กๆนำผักตบชวามาถักเป็นเปีย แล้วนำไปติดรอบๆขวดแก้ว หรือขวดโหล



สรุปวิจัย
เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวน สอบสวนเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม





การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
  • เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน 
  • ศึกษาอัตราพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน และ 
  • ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
วิธีการดำเนินงาน

          การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อน – หลังการทดลองโดยศึกษาจากประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดคูหาสวรรค์ จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา เรื่อง กระบวนการดารงชีวิตของพืช จานวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา เรื่อง กระบวนการดารงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 6 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 18 ชั่วโมงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีขั้นตอน การสอนแบบ 5Es ในแต่ละขั้นจะแทรกกิจกรรมพี่พัฒนาพหุปัญญา เช่น ขั้นสร้างความสนใจ เป็นการใช้คาถามกระตุ้นการคิด จะส่งเสริมพหุปัญญาด้านภาษาและการสื่อสารหรือตรรกะและคณิตศาสตร์ หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม ขั้นสารวจและค้นหา เป็นขั้นที่นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง ด้านนี้จะทาให้นักเรียนเกิดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ จะยายประเด็นให้เห็นภาพชัดเจน และอธิบายข้อมูลด้วยเหตุผล พหุปัญญาที่ส่งเสริมจะเป็นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านภาษาการสื่อสาร ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านมนุษย์สัมพันธ์และเข้าใจผู้อื่น ด้านมิติและจินตภาพ รวมถึงด้านธรรมชาติ ขึ้นกับความเหมาะสมของกิจกรรม ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ในขั้นนี้จะได้ในเรื่องของการอภิปรายผลและการเชื่อมโยงข้อมูล จะเกิดทักษะการคิดสังเคราะห์ พหุปัญญาที่เสริมจะเป็นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ภาษาและการสื่อสาร และพหุปัญญาด้านอื่น ๆ ขั้นขยายความรู้ ในบางกิจกรรมอาจจะได้โครงงานวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขั้นประเมินจะเป็นการประเมินผลงานตามสภาพจริงด้วยเกณฑ์การประเมินตามชิ้นงานนั้น ๆ แบบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน

ผลการวิจัย


          1. การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนได้รับการเรียนรู้และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.80 คะแนน และ 14.00 คะแนน ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา ทา ให้นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น
          2. การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนก่อนได้รับการเรียนรู้และหลังได้รับการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.73 คะแนน และ 7.23 คะแนน ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่าง คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Esที่เน้นพหุปัญญา ทา ให้นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน   โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ที่เน้นพหุปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น